มดใช้ดวงอาทิตย์และความจำนำทาง
มดมีสมองเล็กเท่าหัวเข็มหมุด
สัมผัสในการนำทางของมดนั้นอาจจะน่าทึ่งกว่าที่เราคิดมาก โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า มดสามารถเดินตามเส้นทางเข็มทิศได้ ไม่ว่าจะหันหน้าไปด้านไหนก็ตาม ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์ ก็เหมือนกับการเดินถอยหลัง หรือหมุนตัวไปเรื่อยๆ ระหว่างเดินกลับบ้าน
มดมีสมองเล็กเท่าหัวเข็มหมุด
สัมผัสในการนำทางของมดนั้นอาจจะน่าทึ่งกว่าที่เราคิดมาก โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า มดสามารถเดินตามเส้นทางเข็มทิศได้ ไม่ว่าจะหันหน้าไปด้านไหนก็ตาม ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์ ก็เหมือนกับการเดินถอยหลัง หรือหมุนตัวไปเรื่อยๆ ระหว่างเดินกลับบ้าน
การทดลองโดย ดร.แอนโทนี่ ไวสตาร์ช จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และสถาบัน CNRS ในกรุงปารีส ชี้ว่ามดสามารถรักษาเส้นทางได้ โดยใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ร่วมกับข้อมูลจากสิ่งที่มันมองเห็นรอบๆ ตัว ซึ่งหมายความว่า มดสามารถแยกข้อมูลเกี่ยวกับทิศ และการจัดวางตำแหน่งของร่างกายได้
"สิ่งที่เราพบหลัก ๆ ก็คือ มดสามารถรักษาทิศทางเดิน เช่น การมุ่งหน้าไปทางเหนือได้ อย่างเป็นอิสระแยกจากการจัดวางตำแหน่งของร่างกาย" ซึ่งความสามารถในการนำทางนี้ เป็นคุณลักษณะที่ทำให้มดโดดเด่นจากแมลงชนิดอื่น เพราะการที่มดอาศัยอยู่ในระบบอาณานิคมใหญ่ๆ ทำให้มันจำเป็นต้องหาอาหาร และลากกลับรัง ซึ่งบ่อยครั้งอาจหมายถึงการต้องเดินถอยหลังเป็นระยะทางไกล
มดเดินถอยหลังในขณะที่ต้องลากซากแมลงหางหนีบกลับรัง
แม้ขนาดสมองของมดจะเล็กมาก แต่ก็มีความซับซ้อนมากเช่นกัน โดยลักษณะการถ่ายโอนข้อมูลในสมอง ชี้ว่าส่วนต่างๆ ของสมองมดทำงานร่วมกัน
การศึกษาที่ใช้มดจากทะเลทรายนี้ ชี้ว่าพวกมันเดินได้ถูกทางด้วยการสังเกตท้องฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีพิสูจน์ด้วยการนำกระจกมาบังดวงอาทิตย์ ทำให้พวกมันเดินผิดทิศ นอกจากนี้ ยังพบว่าเวลามดลากอาหารกลับรัง มันจะมีช่วงหยุดพักเพื่อวางอาหารลงและมองไปรอบๆ เพื่อสังเกตเส้นทาง
แม้ขนาดสมองของมดจะเล็กมาก แต่ก็มีความซับซ้อนมากเช่นกัน โดยลักษณะการถ่ายโอนข้อมูลในสมอง ชี้ว่าส่วนต่างๆ ของสมองมดทำงานร่วมกัน
การศึกษาที่ใช้มดจากทะเลทรายนี้ ชี้ว่าพวกมันเดินได้ถูกทางด้วยการสังเกตท้องฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีพิสูจน์ด้วยการนำกระจกมาบังดวงอาทิตย์ ทำให้พวกมันเดินผิดทิศ นอกจากนี้ ยังพบว่าเวลามดลากอาหารกลับรัง มันจะมีช่วงหยุดพักเพื่อวางอาหารลงและมองไปรอบๆ เพื่อสังเกตเส้นทาง
ผลการศึกษานี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Current Biology อาจมีประโยชน์ นำไปต่อยอดใช้ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับนำทางในหุ่นยนต์ได้
โดย ศ.บาร์บารา เว็บบ์ จากสถาบันสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระกล่าวว่า วิธีการนำทางของมด มีลักษณะคล้ายกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยขณะนี้ทางทีมวิจัยสามารถจำลองวงจรประสาทในสมองมดได้แล้ว และหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีระบบนำร่องในพื้นที่ธรรมชาติเช่นในป่า เป็นต้น