ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

พบผึ้งฉลาดกว่าที่คิด เข้าใจความหมายของเลขศูนย์



พบผึ้งฉลาดกว่าที่คิด เข้าใจความหมายของเลขศูนย์แม้จะทราบกันดีว่าผึ้งเป็นแมลงที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แต่ไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อนว่าผึ้งที่มีขนาดสมองเพียงน้อยนิด จะสามารถเข้าใจความหมายของเลขศูนย์ในฐานะจำนวนนับทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวคิดเชิงนามธรรมที่เข้าใจได้ยาก โดยก่อนหน้านี้มีเพียงมนุษย์และลิง ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังเท่านั้นที่เข้าใจแนวคิดเรื่องเลขศูนย์นี้


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RMIT ในนครเมลเบิร์นของออสเตรเลีย เสนอผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมวิชาการด้านพฤติกรรมศาสตร์ของสมาคมเพื่อการศึกษาพฤติกรรมสัตว์ (ASAB) ที่เมืองเอสโตริลของโปรตุเกสว่า ผึ้งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดแรกที่สามารถแสดงความเข้าใจในแนวคิดเรื่องเลขศูนย์ได้ โดยได้แสดงพฤติกรรมระหว่างการทดลองหนึ่งที่ยืนยันว่า พวกมันรู้ว่าแท่นวางของที่ไม่มีอะไรวางอยู่เลยนั้น ถือว่ามีสิ่งของเป็นจำนวนน้อยกว่าแท่นที่มีของวางอยู่เพียง 1 ชิ้น
มดใช้ดวงอาทิตย์และความจำนำทาง
ในออสเตรเลีย ม้าฆ่าคนตาย มากกว่า งู


นางสคาร์เล็ตต์ ฮาวเวิร์ด ผู้นำคณะวิจัยบอกว่า ได้ทำการทดลองโดยฝึกให้ผึ้งรู้จักเลือกจำนวนที่น้อยกว่าจากสิ่งของที่มีให้เลือกสองจำนวนระหว่าง 0-4 โดยใช้การวางชิ้นสิ่งของที่มีรูปร่างง่ายๆ บนแท่นวาง 2 แท่นเป็นจำนวนที่ต่างกัน
หากผึ้งบินไปเลือกแท่นที่มีจำนวนสิ่งของวางอยู่น้อยกว่าได้ถูกต้อง 


จะได้รับรางวัลเป็นสารละลายน้ำตาลซูโครสรสหวาน แต่หากเลือกผิด จะถูกลงโทษโดยได้รับสารละลายควินินรสขมแทน ซึ่งปรากฏว่าผึ้งสามารถเลือกได้ถูกต้องถึง 80% และเมื่อทดลองให้เลือกระหว่างแท่นที่ไม่มีของวางอยู่เลย กับแท่นที่มีของจำนวนมากกว่า ผึ้งจะเลือกแท่นที่ว่างเปล่าทุกครั้ง


มีการทดลองซ้ำโดยเปลี่ยนรูปร่างของสิ่งของที่วางบนแท่น เพื่อให้แน่ใจว่าผึ้งตอบสนองต่อจำนวนตัวเลข ไม่ใช่ปัจจัยอื่น และยังขยายจำนวนสิ่งของที่วางสูงสุดไปจนถึง 6 ชิ้น แต่ก็พบว่าผึ้งยังคงแสดงพฤติกรรมอย่างเดิม แต่จะคิดได้ช้าลงและลังเลมากขึ้น เมื่อต้องเลือกระหว่างแท่นที่ไม่มีของอยู่ กับแท่นที่มีของเพียง 1 ชิ้น


ผู้เชี่ยวชาญมองว่า การค้นพบดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง แม้ก่อนหน้านี้จะมีการพบว่าผึ้งสามารถนับจำนวนระหว่าง 1-4 ได้ แต่การที่มันมีความเข้าใจความหมายของเลขศูนย์ 


ซึ่งแม้แต่ในเด็กยังเข้าใจได้ยากและเรียนรู้ได้ภายหลังเลขจำนวนอื่นๆ นั้น เป็นเรื่องเหลือเชื่อซึ่งฉีกตำราความเข้าใจเรื่องสติปัญญาของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เคยมีมา ซึ่งคณะผู้วิจัยข้างต้นจะทำการศึกษาต่อไปว่า ผึ้งสามารถเข้าใจความหมายของเลขศูนย์ได้อย่างไร

มดใช้ดวงอาทิตย์และความจำนำทาง



มดใช้ดวงอาทิตย์และความจำนำทาง
มดมีสมองเล็กเท่าหัวเข็มหมุด
สัมผัสในการนำทางของมดนั้นอาจจะน่าทึ่งกว่าที่เราคิดมาก โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า มดสามารถเดินตามเส้นทางเข็มทิศได้ ไม่ว่าจะหันหน้าไปด้านไหนก็ตาม ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับมนุษย์ ก็เหมือนกับการเดินถอยหลัง หรือหมุนตัวไปเรื่อยๆ ระหว่างเดินกลับบ้าน

การทดลองโดย ดร.แอนโทนี่ ไวสตาร์ช จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และสถาบัน CNRS ในกรุงปารีส ชี้ว่ามดสามารถรักษาเส้นทางได้ โดยใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ร่วมกับข้อมูลจากสิ่งที่มันมองเห็นรอบๆ ตัว ซึ่งหมายความว่า มดสามารถแยกข้อมูลเกี่ยวกับทิศ และการจัดวางตำแหน่งของร่างกายได้


"สิ่งที่เราพบหลัก ๆ ก็คือ มดสามารถรักษาทิศทางเดิน เช่น การมุ่งหน้าไปทางเหนือได้ อย่างเป็นอิสระแยกจากการจัดวางตำแหน่งของร่างกาย" ซึ่งความสามารถในการนำทางนี้ เป็นคุณลักษณะที่ทำให้มดโดดเด่นจากแมลงชนิดอื่น เพราะการที่มดอาศัยอยู่ในระบบอาณานิคมใหญ่ๆ ทำให้มันจำเป็นต้องหาอาหาร และลากกลับรัง ซึ่งบ่อยครั้งอาจหมายถึงการต้องเดินถอยหลังเป็นระยะทางไกล


มดเดินถอยหลังในขณะที่ต้องลากซากแมลงหางหนีบกลับรัง
แม้ขนาดสมองของมดจะเล็กมาก แต่ก็มีความซับซ้อนมากเช่นกัน โดยลักษณะการถ่ายโอนข้อมูลในสมอง ชี้ว่าส่วนต่างๆ ของสมองมดทำงานร่วมกัน
การศึกษาที่ใช้มดจากทะเลทรายนี้ ชี้ว่าพวกมันเดินได้ถูกทางด้วยการสังเกตท้องฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีพิสูจน์ด้วยการนำกระจกมาบังดวงอาทิตย์ ทำให้พวกมันเดินผิดทิศ นอกจากนี้ ยังพบว่าเวลามดลากอาหารกลับรัง มันจะมีช่วงหยุดพักเพื่อวางอาหารลงและมองไปรอบๆ เพื่อสังเกตเส้นทาง


ผลการศึกษานี้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Current Biology อาจมีประโยชน์ นำไปต่อยอดใช้ออกแบบอัลกอริทึมสำหรับนำทางในหุ่นยนต์ได้ 


โดย ศ.บาร์บารา เว็บบ์ จากสถาบันสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระกล่าวว่า วิธีการนำทางของมด มีลักษณะคล้ายกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยขณะนี้ทางทีมวิจัยสามารถจำลองวงจรประสาทในสมองมดได้แล้ว และหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีระบบนำร่องในพื้นที่ธรรมชาติเช่นในป่า เป็นต้น